แนวทางการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ที่แตกร้าว เสียหาย หรือได้รับ ด้วย Sikadur-31 CF Normal, Sikadur-52TH, Sikadur-32TH,SikaMonoTop-412TH, Lanko73, SikaGrout-214-11 TH
ผลกระทบ จากเหตุแผ่นดินไหว / มีนาคม 2568
การจำแนกความเสียหายที่เกิดขึ้น บนส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร
ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหว อาจเกิดขึ้นได้กับ ส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่โชโครงสร้าง
ของอาคาร หากอาคารได้รับความเสียหายกับส่วนที่เป็นโครงสร้าง ก็ถือว่าอาคารได้รับผลกระทมมาก หากอาคารได้รับความ
เสียหายเฉพาะในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง ก็อาจถือได้ว่าอาคาร ได้รับผลกระทบน้อย
ตัวอย่าง ชิ้นส่วนของอาดารที่ถือว่าเป็นส่วนของโครงสร้าง ได้แก่
- ฐานราก (Foundation) – รองรับน้ำหนักอาคารและถ่ายแรงลงสู่ดิน
- เสา (Column) – รับแรงกดจากดานและพื้นถ่ายลงฐานราก
- คาน (Beam) – รองรับและถ่ายแรงจากพื้นและผนังไปยังเสา
- พื้น (Slab/Floor) – รองรับน้ำหนักการใช้งานและอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ผนังรับน้ำหนัก (Load Bearing Wall) – รับและถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างชั้นบนลงสู่ฐานราก เป็นต้น
ตัวอย่าง ชิ้นส่วนของอาคาร ที่ไม่ใช่ส่วนของโครงสร้าง ได้แก่
- ผนังแบ่งพื้นที่ (Partition Wall) – ผนังที่ใช้กั้นห้อง แต่ไม่ได้รับน้ำหนักของอาคาร
- ฝ้าเพดาน (Ceiling) – ใช้เพื่อความสวยงามและปิดงานระบบ ไม่รับแรงจากโครงสร้าง
- วงกบประตู-หน้าต่าง (Door & Window Frames) – ช่วยยึดประตูและหน้าต่างแต่ไม่มีผลต่อความแข็งแรงของอาคาร
- ประตูและหน้าต่าง (Doors & Windows) – มีหน้าที่เปิด-ปิดพื้นที่แต่ไม่ได้ช่วยรองรับน้ำหนักอาคาร
- วัสดุปูพื้น (Floor Finishings) – เช่น กระเบื้อง ไม้ปูพื้น พรม มีผลต่อความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง
- หลังคาครอบ (Roof Tiles or Metal Sheets) – วัสดุมุงหลังคาที่ช่วยกันแดดกันฝน แต่ไม่ได้เป็นส่วนโครงสร้างหลัก
เป็นต้น
อาคารที่ได้รับความเสียหายบนส่วนที่เป็นโครงสร้าง จะต้องได้รับการตรวจสอบ และซ่อมแซมตามมาตรฐาน อย่างเร่งด่วน
เพราะถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของอาคาร สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง อาจถือเป็นความสำคัญ
เร่งด่วนรองลงมาจากความเสียหายบนส่วนที่เป็นโครงสร้าง
ขั้นตอนการซ่อมแซม
ตรวจสอบความเสียหาย – รวบรวมข้อมูลความเสียหาย ระบุรายละเอียดของรอยแตกร้าว ขนาดความกว้าง ความลึก ความยาว จำนวนและตำแหน่งที่เกิดความเสียหาย รวมถึงการจำแนกระหว่างส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่ใช่ โครงสร้าง เป็นต้น
วิเคราะห์สาเหตุ – พิจารณาหาลาเหตุ ความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ทำให้โครงสร้างคอนกรีต ได้รับความเสียหาย เช่น เกิด
จากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แรงดึง แรงดัด แรงกดอัด หรือ แรงเฉือน เป็นต้น
เลือก / กำหนด วัสดุซ่อม – ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ลงมือซ่อม – ให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการ หรือข้อกำหนดที่ได้ออกแบบและวางแผนไว้
ป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำ – โดยพิจารณาจากลาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย และออกแบบป้องกันหรือลด
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้อีก
ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีต
ระดับ 1 ไม่แตกร้าว
ระดับ 2 แตกร้าว แต่คอนกรีตไม่กะเทาะ
ระดับ 3 แตกร้าว จนคอนกรีตกะเทาะแต่ยังไม่เห็นเหล็กเสริม
ระดับ 4 คอนกรีตกะเทาะหลุด เห็นเหล็กเสริมด้านใน ขาด บิด งอ เสียรูป


แนวทางการซ่อมแซม ในแต่ละ ระดับความเสียหาย
ระดับ 1 ไม่มีการแตกร้าวบนส่วนที่เป็นโครงสร้าง (อาจมีความเสียหายบนส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่นผนังแตกร้าว)
แนวทาง : ไม่มีการซ่อมชิ้นส่วนโครงสร้าง
ระดับ 2 แตกร้าว แต่คอนกรีตไม่กะเทาะ (มีขนาดความกว้างของรอยร้าวอยู่ระหว่าง 0.3 มม. ถึง 2.0 มม.)
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ ฉีดอัดอีพื่อกชื่น ที่มีค่าการรับกำลังกำลังทางกลสูง
(สำหรับรอยร้าวลึกและต่อเนื่อง)
วัสดุ : Sikadur -52 TH และ Sikadur -31 CF Normal
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ ฉาบซ่อมด้วยอีพ็อกซี่มอร์ตาร์ ที่มีค่าการรับกำลังทางกลสูง
(สำหรับรอยร้าวที่ไม่ลึกมาก / ตั้งแต่ 1-10 มม.)
วัสดุ : Sikadur -31 CF Normal
ระดับ 3 แตกร้าว จนคอนกรีตกะเทาะ แต่ยังไม่เห็นเหล็กเสริม (หรืออาจเห็นผิวเหล็กเสริมเพียงเล็กน้อย-บางส่วม)
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ ฉาบซ่อม
วัสดุ : Sikadur-31 CF Normal (สำหรับรอยร้าวที่ไม่ลึกมาก /ตั้งแต่ 1-10 มม.)
วัสดุ : Sikadur -32 TH และ SikaMonoTop -412 TH หรือ Lanko 731 (สำหรับรอยแตกร้าวที่มีความ
ลึกเกินกว่า 10 มม.)
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ เข้าแบบ และเทวัสดุนอนชริงค์เกราท์
วัสดุ: Sikadur -32 TH และ SikaMonoTop -412 TH (สำหรับรยแตกร้าวที่มีขนาดใหญ่ และลึก ตั้งแต่ 10
มม. จนถึง 70 มม.)
ในกรณีที่คอนกรีตกะเทาะหลุด เห็นเหล็กเสริมด้านใน แต่เหล็กเสริมไม่มีการ ขาด บิด งอ หรือเสียรูป
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ ฉาบซ่อม
วัสดุ : Sikadur -31 CF Normal (สำหรับรอยร้าวที่ไม่ลึกมาก / ตั้งแต่ 1-10 มม.)
วัสดุ : Sikadur -32 TH และ SikaMonoTop -412 TH หรือ Lanko 731 (สำหรับรอยแตกร้าวที่มีความลึกเกินกว่า 10 มม.)
แนวทาง : การซ่อมด้วยวิธีการ เข้าแบบ และเทวัสดุนอนชริงค์เกราท์
วัลด : Sikadur -32 TH และ SikaGrout -214-11 TH (สำหรับรอยแตกร้าวที่มีขนาดใหญ่ และลึก ตั้งแต่ 10 มม. จนถึง 70 มม.)
ระดับ 4 คอนกรีตกะเทาะหลุด เห็นเหล็กเสริมด้านใน ขาด บิด งอ เสียรูป
ในกรณีที่คอนกรีตกะเทาะหลุด เห็นเหล็กเสริมด้านใน ขาด บิด งอ หรือเสียรูป
แนวทาง : ต้องมีวิศวกรโครงสร้างมาตรวจสอบ และออกแบบวิธีการซ่อมแชมตามมาตรฐาน เพื่อให้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ได้รับ
ความเสียหาย สามารถกลับมารับกำลังทางกลต่างๆ ได้เหมือนเดิม ซึ่งโดยทั่วไป ก็อาจมีแนวทางการซ่อมคล้ายคลึงกับการ
แก้ไข ซ่อมแชมในระดับ 3 แต่อาจะต้องมีการเสริมกำลังโครงสร้างเพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งการเสริมกำลังโครงสร้าง ทำได้หลายวิธี
โดยการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวัสดุ CFRP ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี ที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน แต่ก็จะต้องได้รับการ
ออกแบบและคำนวณ โดยวิศวตรโครงสร้าง ที่มีความเชี่ยวชาชาญโดยเฉพาะ